จากหนังสือ คิดแล้วรวย
ค่ำวันที่ 12 ธันวาคม ปี ค.ศ. 1900 ผู้ทรงอิทธิพลทางการเงินระดับประเทศ 80 คน ได้มาอยู่ร่วมกันในงานจัดเลี้ยงของยูนิเวอร์ซิตี้คลับ เพื่อเป็นเกียรติแก่ชายหนุ่มผู้หนึ่งจากฝั่งตะวันตก มีแขกในงานไม่รู้กี่คนที่รู้ตัวว่าตัวเองกำลังจะกลายเป็นพยานแห่งความสำเร็จของประวัติศาสตร์อุตสาหกรรม
เกาะแมนฮัตตัน รัฐนิวยอร์ก ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1865 โดยกลุ่มคนที่จบการศึกษาจากวิทยาลัยต่างๆ เพื่อสานต่อความสัมพันธ์หลังจบการศึกษา ต่อมาใช้เพื่อแสดงงานศิลปะ และเป็นที่ประชุม สังสรรค์เฉพาะสมาชิก ซึ่งมักเป็นเศรษฐีและบุคคลที่มีชื่อเสียง (ปัจจุบันจัดเป็นสถาปัตยกรรมที่ทรงคุณค่าของสหรัฐอเมริกา)
เจ. เอ็ดเวิร์ด ชิมมอนส์ และชาร์ลส์ สจ็วต สมิท รู้สึกเป็นเกียรติและขอบคุณ ชาร์ลส์ เอ็ม. ชวอบ เป็นอย่างมาก พวกเขาได้พบปะกับชวอบที่พิตสเบิร์กจึงได้จัดงานเลี้ยงอาหารเย็นนี้ขึ้นเพื่อแนะนำตัวชวอบ
นักอุตสาหกรรมเหล็กวัย 38 ปี ให้กับสมาคมธนาคารฝั่งตะวันออก พวกเขาไม่ได้คาดหวังว่าจะมีเรื่องตื่นเต้นอะไรในงานนี้
ความจริงแล้ว ผู้คนชาวนิวยอร์กที่อยู่ในงานไม่ค่อยสนใจกับเรื่องศิลปะการพูดเท่าใดนัก หากไม่ต้องการให้แขกในงาน เช่น ตระกูลสติลล์แมนส์, แฮรี่แมนส์ และแวนเดอร์บิลต์ เบื่อหน่าย เขาก็ควรจะจำกัดคำพูดเพียง 15-20 นาทีเท่านั้น แล้วปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามปกติ แม้แต่จอห์น เปียร์ปองต์ มอร์แกน ซึ่งนั่งอยู่ด้านขวาของชวอบ ก็เพียงแต่กล่าวขอบคุณสั้นๆ เท่านั้น จนทำให้สื่อมวลชลที่ไปทำข่าวกังวลว่าวันพรุ่งนี้อาจไม่มีข่าวไปลงตีพิมพ์
ดังนั้นเจ้าภาพทั้งสองและแขกพิเศษจึงนั่งรับประทานอาหารไปโดยสนทนากันเพียงเล็กน้อยเป็นเรื่องทั่วๆ ไป มีนายธนาคารและนายหน้าซื้อขายไม่กี่คนที่เคยพบกับชวอบ ผู้ซึ่งดำเนินธุรกิจกับธนาคารโมนอนกาเฮลา ไม่ค่อยมีใครรู้จักมักคุ้นกับเขา แต่ก่อนที่ค่ำคืนนั้นจะผ่านไป พวกเขาทุกคนรวมไปถึงเจ้าพ่อวงการเงินมอร์แกน ต่างก็ถูกชักชวนให้หลงใหล และแล้วเด็กหนุ่มพันล้านแห่งบริษัทยูไนเต็ดสเตตสตีล ก็ได้แจ้งเกิดขึ้นในงานนี้เอง
โชคไม่ดีนักที่ไม่มีการบันทึกสุนทรพจน์ของชาร์ลส์ ชวอบ ในค่ำคืนนั้น อย่างไรก็ตาม มันเป็นสุนทรพจน์ง่ายๆ ที่สำนวนอาจไม่ดีนัก (ชวอบไม่ค่อยใส่ใจกับการพิถีพิถันในการใช้ภาษามากนัก)
แต่เต็มไปด้วยคำคม และมีพลังกระตุ้น จนมีผลทำให้เกิดการรวบรวมเงินได้ถึง 5 พันล้านดอลลาร์
หลักจากงานเลี้ยงสิ้นสุดลงการระดมเงินก็ยังมีอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าชวอบจะพูดนานถึง 90 นาที
มอร์แกนยังได้ขอพูดคุยนอกรอบต่ออีกเป็นชั่วโมง
มหัศจรรย์แห่งบุคลิกภาพของชวอบได้เป็นที่ประจักษ์และทรงพลังอย่างยิ่งแต่เหนือสิ่งอื่นใดคือ
โครงการที่ชัดเจนในการเพิ่มพูนมูลค่าของเหล็กกล้า มีคนมากมายพยายามทำให้มอร์แกนสนใจในการผูกขาดกิจการการค้าเหล็กกล้า หลังจากได้ผูกขาดกิจการต่างๆไปแล้ว เชน ขนมปังกรอบ สายโทรเลข น้ำตาล ยาง วิสกี้ น้ำมัน และหมากฝรั่ง
จอห์น ดับเบิลยู. เกตส์ เป็นนักเก็งกำไร ซึ่งสนใจในเรื่องการควบรวมอุตสาหกรรมเหล็กกล้า แต่มอร์แกนไม่ค่อยไว้ใจในเขา ส่วนพี่น้องตระกูลมัวร์ บิล และจิม นักค้าหุ้นแห่งชิคาโก ผู้ซึ่งเคยควบรวมกิจการบริษัทขนมปังกรอบก็สนใจเช่นกัน แต่ในที่สุดก็ล้มเหลว ส่วน อัลเบิร์ต เอช. แกรี่ นักกฎหมายระดับประเทศก็สนใจ แต่กิจการเขาไม่ใหญ่พอที่จะดำเนินการได้
จนกระทั่งสุนทรพจน์ของชวอบนี่เองที่ทำให้ เจ. พี. มอร์แกน มองเห็นภาพการทำธุรกรรมทางการเงินอย่างไม่เคยเห็นมาก่อน ถึงแม้ว่าโครงการนั้ดูเหมือนเป็นความเพ้อฝันก็ตาม การระดมเงินทุนซึ่งได้เริ่มต้นมาเกือบหนึ่งชั่วอายุคนแล้ว ได้ดึงดูดบริษัทขนาดเล็กนับพันที่มีปัญหาการบริหารจัดการเข้ามารวมกันเป็นบริษัทใหญ่ที่มีศักยภาพมากขึ้น
นักธุรกิจเจ้าเล่ห์ จอห์น ดับเบิลยู. เกตส์ ได้เข้าสู่สงครามการแข่งขันในอุตสาหกรรมเหล็กกล้าด้วยการก่อตั้งบริษัทอเมริกันสตีลแอนด์ไวร์ และยังได้ร่วมกับมอร์แกนสร้างบริษัทเฟเดอรัลสตีลอีกด้วย
ส่วนทางด้านของ แอนดรูว์ คาร์เนกี้ ก็มีการควบรวมกิจการให้ใหญ่ขึ้น ด้วยการรวมหุ้นส่วนธุรกิจทั้งสิ้น 53 บริษัท ยังมีบริษัทอื่นๆ ที่ควบรวมกิจการอีกแต่เป็นบริษัทเล็กๆ และไม่มีความสำคัญ บริษัทเล็กๆ เหล่านี้พยายามรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน แต่เกือบทุกบริษัทไม่สามารถทำลายองค์กรขนาดใหญ่ของคาร์เนกีได้ เรื่องนี้มอร์แกนก็รู้ดี และคาร์เนกีก็รู้เช่นกัน
ด้วยวิสัยทัศน์อันสูงส่งของคาร์เนกี ครั้งแรกดูเหมือนเป็นเรื่องดี แต่ต่อมากลับลายเป็นความแค้นเคือง
กลุ่มบริษัทเล็กๆ ของมอร์แกนพยายามสกัดกั้นธุรกิจของคาร์เนกี เมื่อพยายมทำกันจนรุนแรงเกินไป
อารมณ์ของคาร์เนกีก็เปลี่ยนเป็นความโกรธและตอบโต้กลับไป เขาตัดสินใจที่จะสร้างโรงงานเหล็กประกบกับคู่แข่งทางธุรกิจ ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้เขาไม่เคยสนใจผลิตภัณฑ์ประเภทลวด ท่อเหล็ก ห่วง หรือเหล็กแผ่นเลย เขาพอใจที่จะผลิตเฉพาะเหล็กกล้าซึ่งเป็นวัตถุดิบเพื่อให้คนอื่นนำไปแปรรูป
เขาได้เริ่มทำผลิตภัณฑ์เหล็กทุกรูปแบบที่ต้องการ คาร์เนกีได้ร่วมกับชวอบซึ่งขณะนั้นทำงานเป็นผู้จัดการ เพื่อวางแผนที่จะทำให้คู่แข่งหลังชนกำแพง ดังนั้นจากสุนทรพจน์ของ ชาร์ลส์ เอ็ม. ชวอบ มอร์แกนจึงได้มองเห็นปัญหาในการควบรวมบริษัทอื่นๆ ว่า การควบรวมกิจการจะไม่มีวันเกิดขึ้นได้เลย ถ้าปราศจากคาร์เนกียักษ์ใหญ่แห่งวงการ
สุนทรพจน์ของชวอบในค่ำคืนของวันที่ 12 ธันวาคม ปี ค.ศ. 1900 ได้แสดงให้เห็นอย่างไร้ข้อสงสัยว่า
มอร์แกนสามารถเข้าไปครอบครองอาณาจักรธุรกิจอันกว้างใหญ่ไพศาลของคาร์เนกีได้ เขาได้พูดถึงโลกแห่งอนาคตของเหล็ก การปรับปรุงองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของโรงงานเหล็กที่ไม่ประสบความสำเร็จและการสร้างสินทรัพย์ให้เพิ่มขึ้น การขนส่งสินแร่ การบริหารจัดการ และการเข้าสู่ตลาดในประเทศ
ยิ่งกว่านั้น เขายังได้พูดถึงคนที่คิดไม่ซื่อซึ่งรอจังหวะความผิดพลาดของผู้อื่น พยายามผูกขาดการค้าขายแต่เพียงผู้เดียว ปั่นราคา คอยรอรับเงินปันผล ชวอบได้ประณามระบบที่เลวร้ายนี้ นโยบายที่ไม่มีวิสัยทัศน์นี้จะไปจำกัดตลาดการค้า สวนทางกับการเรียกร้องของผู้คนที่ต้องการให้ธุรกิจทั้งหมดขยายตัว เขาเสนอว่าถ้าราคาเหล็กถูกลง ตลาดการค้าเหล็กจะขยายตัว การให้เหล็กก็จะมากขึ้น และสามารถขยายการค้าไปสู่ภูมิภาคอื่นๆ ของโลก
อาจไม่ค่อยมีใครรู้ว่าแท้ที่จริงแล้วชวอบมีหัวคิดดีมากในเรื่องการผลิตสมัยใหม่ ดังนั้นงานเลี้ยงที่ยูนิเวอร์ซิตี้คลับคืนนั้น จึงได้นำมาซึ่งบทสรุป มอร์แกนกลับบ้านแล้วนั่งคิดเกี่ยวกับการคาดการณ์ของชวอบ ส่วนชวอบก็กลับไปพิตสเบิร์กเพื่อเริ่มดำเนินธุรกิจให้คาร์เนกีต่อไป ขณะที่แกรี่และคนอื่นที่เหลือกลับไปเตรียมติดตามกระดานหุ้น
เวลาผ่านไปไม่นานนัก มอร์แกนใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ในการพิจารณาเหตุและผลที่ชวอบได้บอกไว้ เมื่อเขายืนยันกับตัวเองว่า ไม่มีอุปสรรคทางการเงินสำหรับเขาแต่อย่างใด เขาจึงได้ติดต่อและขอพบกับชวอบ ชวอบบอกเขาไปว่าคาร์เนกีคงไม่พอใจนักถ้ารู้ว่าประธานกรรมการบริษัทของเขาติดต่ออย่างสนิทสนมกับผู้ยิ่งใหญ่แห่งวอลล์สตรีต จอห์น ดับเบิลยู. เกตส์ ได้แนะนำว่า ถ้าชวอบปรากฏตัวในโรงแรมเบลเลอวู รัฐฟิลาเดลเฟียแล้วล่ะก็ เจ. พี. มอร์แกน ก็อาจไปอยู่ที่นั่นโดยบังเอิญ แต่เมื่อชวอบมาถึงที่นั่นแล้ว บังเอิญมอร์แกนเกิดป่วยกะทันหันอยู่ที่บ้านในนิวยอร์ก เขาจึงได้เชิญชวอบให้ไปพบ
ชวอบเดินทางไปนิวยอร์กเพื่อพบกับนักการเงินผู้ยิ่งใหญ่ที่ห้องสมุดในบ้านพักของเขา ถึงตอนนี้นักประวัติศาสตร์ทางเศรษฐศาสตร์เชื่อว่า ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบของละครเรื่องนี้ แอนดรูว์ คาร์เนกี เป็นคนจัดฉากทั้งหมด ตั้งแต่การกล่าวสุนทรพจน์ของชวอบในงานเลี้ยงอาหารค่ำไปจนถึงการพูดคุยกับมอร์แกนราชาแห่งการเงินในคืนวันอาทิตย์ แต่ความเป็นจริงกลับตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง
กล่าวคือ เมื่อชวอบถูกมอร์แกนเรียกมาจัดการข้อตกลงให้สำเร็จผล ชวอบเองก็ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าคาร์เนกีที่เขาเรียกว่า “นายน้อย” นั้น จะสนใจรับฟังการเสนอซื้อขายครั้งนี้มากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะขายให้กับคนกลุ่มคนที่คาร์เนกีค่อนข้างดูแคลน ชวอบตอบรับการประชุมด้วยข้อความซึ่งเขียนด้วยลายมือถึง 6 หน้ากระดาษ บรรยายถึงศักยภาพของบริษัทเหล็กแต่ละแห่งที่เขาระบุว่าเป็นดาวรุ่ง
ทั้งสี่คนได้ไตร่ตรองเรื่องนี้ตลอดทั้งคืน แน่นอนว่าผู้นำการพูดคุยคือ มอร์แกน ผู้ซึ่งมีความเชื่อว่าเงินคือพระเจ้า คนที่นั่งอยู่ใกล้ๆ กับเขาคือหุ้นส่วนธุรกิจมีระดับโรเบิร์ต เบคอน คนที่สามคือ จอห์น ดับเบิลยู. เกตส์ ผู้ซึ่งมอร์แกนดูหมิ่นว่าเป็นพวกเก็งกำไร แต่ก็ใช้เขาเป็นลูกมือ คนที่สี่คือ ชวอบ ผู้รอบรู้เรื่องการผลิตและขายเหล็กมากกว่าใครทั้งหมด
ตลอดการประชุมนั้นไม่มีใครติดใจสงสัยในข้อมูลของชวอบ ถ้าเขาบอกว่าบริษัทไหนคุ้มค่ากับการลงทุน มันก็เป็นตามนั้น นอกจากนี้เขายังยืนยันให้ควบรวมกิจการเฉพาะบริษัทที่เขาเสนอมาเท่านั้น
เขานำเสนอแต่บริษัทใหญ่ๆ ที่จะไม่มีการแยกกันอีกต่อไป และไม่เอาใจกลุ่มเพื่อนของมอร์แกนซึ่งโลภมากต้องการโยนบริษัทตัวเองให้มอร์แกนรับผิดชอบภาระทางการเงิน
เมื่อรุ่งอรุณมาถึง มอร์แกนลุกขึ้นยืน ถามคำถามเดียวที่ยังเหลืออยู่ เขาถามชวอบว่า
“คุณคิดว่าคุณสามารถโน้มน้าวให้แอนดรูว์ คาร์เนกี ตัดสินใจขายกิจการหรือไม่?”
“ผมจะลองดู” ชวอบตอบ
“ถ้าคุณทำให้เขายอมขาย ผมจะตกลงตามที่คุณเสนอ” มอร์แกนกล่าว
เท่านี้ก็น่าพอใจ แต่คาร์เนกีจะขายเท่าไร? เขาต้องการเงินเท่าไร? (ชวอบคิดไว้ว่าประมาณ 320 ล้านดอลลาร์) เงื่อนไขของการจ่ายจะเป็นอย่างไร? หุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิ? พันธบัตร? หรือเงินสด?
น่นอนว่าไม่มีใครจ่ายเงินมากขนาดนั้นด้วยเงินสดได้ ในการแข่งขันกอล์ฟที่สนามในเซนต์แอนดรูว์ เมืองเวสต์เชสเตอร์ คาร์เนกีสวมเสื้อหนาว และชาร์ลีก็ยังคงพูดไม่หยุดเหมือนเคย แต่ไม่มีการพูดคุยเรื่องธุรกิจ
จนกระทั่งได้นั่งคุยกันในเรือนรับรองของคาร์เนกี เช่นเดียวกับที่ได้เกลี้ยกล่อมให้มหาเศรษฐี 80 คนที่ยูนิเวอร์ซิตี้คลับเคลิบเคลิ้มมาแล้ว ชวอบให้สัญญากับคาร์เนกีถึงช่วงเกษียณอายุแสนสบายด้วยเงินหลายล้านเพื่อให้เขาพอใจ ในที่สุดคาร์เนกีก็ยินยอม เขาเขียนตัวเลขใส่กระดาษ ยื่นส่งให้ชวอบแล้วพูดว่า “เอาล่ะ นั่นคือราคาที่เราจะขาย” ตัวเลขนั้นประมาณ 400 ล้านดอลลาร์ มันใกล้เคียงกับที่ชวอบเคยกำหนดไว้คือ 320 ล้านดอลลาร์ และเพิ่มให้อีก 80 ล้านดอลลาร์ สำหรับมูลค่าที่เพิ่มขึ้นใน 2 ปีผ่านมา
ต่อมาบนดาดฟ้าเรือทรานส์แอตแลนติก คาร์เนกีกล่าวกับมอร์แกนว่า
“ผมคิดว่า ผมต้องการเงินเพิ่มอีก 100 ล้านดอลลาร์”
“ถ้าคุณขอมา ผมก็ให้”
มอร์แกนตอบอย่างอารมณ์ดี
เมื่อผู้สื่อข่าวชาวอังกฤษได้รับโทรเลขว่า บริษัทเหล็กระดับโลกในต่างประเทศมีการควบรวมกิจการกัน
ย่อมกลายเป็นข่าวใหญ่อย่างแน่นอน ประธานแฮดเลย์แห่งเยล ถึงกับประกาศว่า ในรอบ 25 ปี จากนี้ไปจะไม่มีการควบรวมกิจการยิ่งใหญ่แบบนี้เกิดขึ้นให้เห็นอีก คีน-นักค้าหุ้นรีบกลับไปทำงานของเขาคือ นำหุ้นตัวใหม่ให้สาธารณชนรับรู้ถึงเงินทุนอันมหาศาลเกือบ 600 ล้านดอลลาร์ คาร์เนกีได้เงินล้านของเขา
มอแกนได้ 62 ล้านดอลลาร์สำหรับความพยายามในครั้งนี้ รวมไปถึงเกตส์ และแกรี่ก็ได้เงินล้านเช่นกัน
ความร่ำรวยเริ่มจากความคิด
เรื่องราวของธุรกิจใหญ่ที่คุณได้อ่านจบไปแล้วนั้น เป็นการอธิบายได้อย่างดีถึงวิธีที่จะเปลี่ยนเป็นปณิธานไปสู่ผลในทางปฏิบัติ องค์กรยักษ์ใหญ่นั้นเกิดจากจิตใจของคนเพียงคนเดียว การวางแผนให้องค์กรอุตสาหกรรมเหล็กกล้ามีความมั่นคงทางการเงิน ก็เกิดจากการสร้างสรรค์ของคนคนเดียวกัน
ศรัทธา ปณิธาน จินตนาการ และความมุ่งมั่นของเขา อันเป็นส่วนประกอบสำคัญในการถือกำเนิดของยูไนเต็ดสเตตสตีล
มูลค่าการซื้อขายโรงงานถลุงเหล็กและอุปกรณ์อย่างถูกต้องตามกฎหมายนี้ดูสมเหตุสมผล แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อวิเคราะห์อย่างละเอียดถี่ถ้วนพบว่า การประเมินสินทรัพย์ของบริษัทนั้น มูลค่าของมันได้เพิ่มขึ้นถึง 600 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 12,000 ล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน) การเพิ่มมูลค่าของสินทรัพย์นี้ก็เนื่องมาจากการบริหารจัดการเพื่อรวบรวมธุรกิจให้เป็นหนึ่งเดียวกันนั่นเอง
ไอเดียของ ชาร์ลส์ เอ็ม. ชวอบ รวมกับศรัทธาที่ถูกส่งผ่านเข้าไปสู่จิตใจของ เจ. พี. มอร์แกน และคนอื่น กลายเป็นผลกำไรถึง 600 ล้านดอลลาร์ ผลกำไรนี้มาจาก “ความคิด” อย่างเดียวเท่านั้น บริษัทยูไนเต็ดสตีลเจริญรุ่งเรืองกลายเป็นบริษัทที่ร่ำรวยและยิ่งใหญ่ที่สุดบริษัทหนึ่งในสหรัฐอเมริกา จ้างงานคนนับพันคนพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เป็นตลาดการค้าเพิ่มขึ้น นั่นเป็นสิ่งที่พิสูจน์ให้เห็นถึงผลกำไร 600 ล้านดอลลาร์ที่ชวอบใช้ความคิดสร้างสรรค์ขึ้นมา
ความร่ำรวยเริ่มต้นมาจากความคิด ส่วนจะได้มากน้อยเพียงไรนั้น ขึ้นกับความคิดในจิตใจของแต่ละคนที่จะนำไปลงมือปฏิบัติ ศรัทธาจะทำลายอุปสรรคต่างๆ จงจำไว้ว่า เมื่อคุณพร้อมที่จะเดิมพันด้วยชีวิตเพื่อสิ่งที่คุณต้องการ รางวัลแห่งความสำเร็จจะรอคุณอยู่